การแสดงสีหน้าท่าทาง

การแสดงสีหน้าท่าทาง

ดาวน์โหลด (1)

dn3

   1.         การแสดงสีหน้าท่าทางส่วนสำคัญที่สุดของการแสดงสีหน้า  ได้แก่  ดวงตา  ดวงตาเป็นประตู่ของหัวใจที่จะติดต่อกับคนฟังโดยตรง  เราชอบคนพูดที่พูดกับเราโดยไม่หลบตา  ไม่ว่าในการพูดคุยธรรมดาหรือบนเวที  หากคนที่พูดกับเราคอยหลบตา  หรือไม่กล้าสบตา  เราจะมีความไว้วางใจน้อยลง  การพูดต่อชุมนุม  ถ้าผู้พูดที่คอยก้มหน้าดูพื้น ก้มอ่านที่จดไว้ แหนงมองเพดาน มองออกไปทางหน้าต่างหรือที่อื่น  ไม่มองไปยังผู้ฟัง  ย่อมพาให้ผู้ฟังขาดความสนใจในตัวผู้พูด

ข้อบกพร่องในการแสดงสีหน้าที่มักพบเห็นกันอยู่เสมอ
1.    หน้าลักไก่
2.    หน้าเก๊ก
3.    หน้าหลุกหลิก

2.     การวางท่า  ไม่มีแบบของการยืน  หรือนั่งไว้แน่นอนแต่มีข้อพึงระวังอยู่ว่าอย่ายืนหรือนั่งตัวตรง  แข็งทื่อแบบทหารเฝ้ายาม หรืออกแอ่น  พุงแอ่น ให้ยืนนั่งตามสบาย แต่ก็อย่าให้ถึงขนาดตัวห่อหรือทำท่าจะล้มพับลง ให้เท้าห่างจากกันประมาณ  6-12 นิ้ว  และวางน้ำหนักไว้ตรงอุ้งเท้าจะเป็นท่าที่ยืนที่สบาย

 ข้อบกพร่องในการวางท่าที่มักพบเห็นกันอยู่เสมอ

         1.    ท่าคนขี้ยา
         2.    ท่าชิงหาหลัก
         3.    ท่าไม้ปักรั้ว

 3.          การเคลื่อนไหว  หมายถึง  การเดินไปเดินมาบนเวที  การเคลื่อนไหวนี้มีความสำคัญในการสร้างความสนใจมากอยู่มาก  การเคลื่อนไหวไปมาเป็นการเปลี่ยนความจำเจ  การดินไปทางซ้ายบ้าง  ขวาบ้าง  หน้าบ้าง  หลังบ้าง  แต่พอสมควรช่วยคนฟังหายง่วงนอนได้

                       ข้อบกพร่องในการเคลื่อนไหวที่มักพบเห็นกันอยู่เสมอ

         1.    ชะมดติดจั่น  ก้าวเดินไปจนพล่าน
         2.    ปั้นตรึงตรา  มีลักษณะตรึงแน่นอยู่กับที่
         3.    ถลาร่อนลม  โครงตัวกะเท่เร่ไปในทิศทางต่าง ๆ

4.        การแสดงท่าทาง  เป็นการเน้นหรือช่วยเพิ่มความกระจ่าง  โดยเฉพาะในระยะทาง  ขนาดรูปร่าง  และทิศทาง  ส่วนมากเป็นการใช้มือและแขน  โดยปกติจะยกแสดงในระดับอกหรือสูงกว่านั้นไม่ควรแสดงโดยใช้มือต่ำกว่าสะดือจะทำให้ผู้ฟังมองไม่เห็น  เพื่อเน้นให้คนฟังประทับใจและจำได้

                       ข้อบกพร่องในการแสดงท่าทางที่มักพบเห็นกันอยู่เสมอ

         1.    การชี้นิ้ว
         2.    การทุบโต๊ะ
         3.    การปฏิเสธ  หรือไม่รับรู้
         4.    การอ้อนวอน

แหล่งอ้างอิง

http://www.oknation.net/blog/soray/2009/08/31/entry-1

การพูดในโอกาสต่างๆ

 การพูดในโอกาสต่างๆนั้น เราต้องมีความมั่นใจในการพูด ไม่พูดติดๆขัดๆ มีความมั่นใจในตัวเอง

                  จึงเป็นสิ่งที่ควรจะศึกษาไว้อย่างยิ่ง เพื่อจะได้พูดได้ถูกต้อง ไม่เก้อเขิน สอดคล้องกับบรรยากาศ

ทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้ฟัง
การพูดในโอกาสต่าง ๆ มีดังนี้
๑. การกล่าวแนะนำ
๒. การกล่าวให้เกียรติหรือมอบรางวัล
๓. การกล่าวตอบรับ
๔. การกล่าวต้อนรับ
๕. การกล่าวตอบการต้อนรับ
๖. การกล่าวในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่
๗. การกล่าวอวยพร
๘. การกล่าวอำลา

cropped-e0b894e0b8b2e0b8a7e0b899e0b98ce0b982e0b8abe0b8a5e0b8941.jpgintroduce

         ถ้ากล่าวในแง่ของ ‘คำทักทาย’ และ ‘คำกล่าวตอบ’ แล้ว การกล่าวคำทักทายของฝรั่ง (Greeting) จะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

   1. การกล่าวคำทักทายที่ ‘คำทักทาย’ และ ‘คำกล่าวตอบ’ เป็นคำคำ
เดียวกันหรือเป็นคำในกลุ่มเดียวกัน
เช่น

   
    คำทักทาย: Hi!
    คำกล่าวตอบ: Hi!

   2. การกล่าวคำทักทายที่ ‘คำทักทาย’ และ ‘คำกล่าวตอบ’ ไม่ใช่คำคำ
เดียวกัน
เช่น

    คำทักทาย: How are you?
    คำกล่าวตอบ: Very well.

แหล่งอ้างอิง

http://englishtrick.com/goodspeak/greeting_all/greeting_p1.html

การไหว้แบบไทย

                 “การไหว้”  เป็นภาษาท่าทางที่ใช้แสดงความเคารพ ทักทาย โดยการยกมือสองข้างประนม พร้อมกับยกขึ้นไหว้ในระดับต่างๆ นอกจากนี้ยังแสดงออกถึงความหมายของ การขอบคุณ การขอโทษ การยกย่อง การระลึกถึง และอีกหลายความหมายสุดแท้แต่โอกาส  การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นวัฒนธรรมที่งดงาม รวมทั้งเป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทย ที่ปัจจุบันกำลังเลือนหายและถูกละเลยอย่างน่าเสียดาย ประเทศไทยซึ่งเคยได้ชื่อว่ามีวัฒนธรรมที่งดงามเป็นดินแดนแห่งรอยยิ้ม (Land of Smile) ที่ผู้คนรู้จักไปทั่วโลก กำลังสูญเสียสิ่งเหล่านี้ไป ทั้งที่การไหว้เป็นมารยาทแบบไทยๆ ที่เราคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เด็ก  

pic1

การไหว้เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องเจอในชีวิตประจำวัน เพื่อบุคลิกภาพที่ดีและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ.

การไหว้ในแบบต่างๆ

♦การไหว้แบบการบินไทย

0006212_full
ไหว้ให้สวยงาม พร้อมรอยยิ้มที่บริการแบบจริงใจ

การไหว้ 3 ระดับ

ระดับที่ ๑ การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วแนบส่วนบนของหน้าผาก
    ระดับที่ ๑ การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วแนบส่วนบนของหน้าผาก

      

 ระดับที่ ๒ การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว
ระดับที่ ๒ การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว

 

ระดับที่ ๓ การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโสสูงกว่าเล็กน้อย โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบปลายจมูก
ระดับที่ ๓ การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโสสูงกว่าเล็กน้อย โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบปลายจมูก

วิธีการประนมมือ
ยกมือทั้งสองขึ้นประกบกัน ตั้ง เป็นกระพุ่มมือ
ประนมไว้ระหว่างอก ให้ปลายมือตั้งขึ้น ข้างบนนิ้วมือ
ทั้งสองข้าง ทุกนิ้วแนบชิดสนิทกัน อย่าให้เหลื่อมล้ำกัน
อย่าให้กางห่างออกจากกัน ข้อศอกทั้งสองแนบชิดชายโครง

แหล่งอ้างอิง

 http://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=13686

จากข้อมูลนี้แล้ว คุณสามารถหาเพิ่มเติมอีกเองได้

การทักทายและการตอบรับ

การทักทาย

              เป็นอารยธรรมที่งดงามยิ่งของมวลมนุษยชาติ เป็นสิ่งที่ชาวต่างชาติควรเรียนรู้เป็นอันดับแรก การทักทายไม่ว่าจะชาติใด

ย่อมเป็นสิ่งสำคัญ  เพราะว่าเป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานของชนชาติผู้เป็นเจ้าของ

วิธีการทักทายนั้นอาจมีความแตกต่างกันบ้างดังต่อไปนี้

  1. คำกล่าวทักทายที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
  2. วิธีปฏิบัติที่ชนชาตินั้นเลือกใช้ เช่น การประนมมือไหว้ การจับมือ การโค้งคำนับ เป็นต้น

child5

 

 

 

images (4)

การทักทายแบบไทย คือการไหว้แล้วยิ้มอย่างสง่า เพื่อสื่อถึงความเคารพนับถือ ซึ่งเป็นสิ่งที่สวยงามมองแล้วน่ารักสดใส

♦ส่วนชนชาติอื่นอาจจะมีการทักทายแบบต่างกันไป

 การทักทายในช่วงเวลาต่าง ๆ   

การทักทายเป็นมารยาทอย่างหนึ่งในสังคม    โดยปกติเราจะใช้คำพูดไม่เหมือนกัน หรือแม้แต่ทักทายคนคนเดียวกัน

แต่ต่างเวลากันก็ต้องเลือกใช้คำพูดให้ถูกกับเวลาด้วย

ในการทักทายมีช่วงเวลา ดังนี้

Good  morning         สวัสดีตอนเช้า          (หลังเที่ยงคืน  ถึงเที่ยงวัน)

Good  afternoon       สวัสดีตอนบ่าย         (หลังเที่ยงวัน  ถึงเวลา  18.00  น.)

Good  evening          สวัสดีตอนเย็น/ค่ำ   (หลัง  18.00  น.  ถึงเที่ยงคืน)

Good  night               ราตรีสวัสดิ์                (เป็นคำใช้กล่าวลาในตอนกลางคืนไม่ใช่คำทักทายหรือ ตอบรับคำทักทาย)

   ♦ยังมีการทักทายอีกมากมายที่เราสามารถค้นหาและศึกษาด้วยตนเองได้ ♦

♥แหล่งอ้างอิง♥

http://www.dek-d.com/board/view/3386187